This is some text inside of a div block.

2475

พรีออเดอร์หนังสือ

จุดเริ่มต้นของโปรเจกต์

เมื่ออยู่ท่ามกลางความสิ้นหวัง การหวนกลับมาให้ความสนใจกับประวัติศาสตร์ต้องห้ามก็ปรากฎขึ้นอย่างแพร่หลายอย่างมีนัยยะสำคัญ ผู้คนหันมาสนใจประวัติศาสตร์ที่ถูกลบเลือนไปจากความทรงจำสังคมไทยที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ซึ่งคือ เหตุการณ์ปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อันเป็นการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ยึดอำนาจจากรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเปลี่ยนผ่านระบอบรัฐสยามให้มีรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจสูงสุด จากกลุ่มคนที่ประกาศเรียกตนเองว่า ‘คณะราษฎร’

หนังสือนวนิยายภาพเล่มนี้ต้องการฉายภาพความเป็นมนุษย์ของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ และขยายความรับรู้สภาพบ้านเมืองสยาม ภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผ่านตัวละครที่มีความนึกคิด ความหวาดกลัว ความรัก ความหวัง และความฝันที่ตนมีต่อการสร้างสังคมอุดมคติ ไม่ต่างจากสิ่งที่ผู้คนในสังคมไทยกำลังประสบอยู่ ณ ปัจจุบัน
แด่สามัญชนทุกคน
ผู้กล้ายืนหยัดท้าทาย
ท่ามกลางยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลง
– 2475  Graphic Novel

เรื่องย่อ

ณ สยามประเทศ ภัยทุกข์ยากหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกัดกินความหวังในหัวใจผู้คนอย่างร้าวลึกและรุนแรง พระนครเต็มไปด้วยความหวาดระแวงต่ออาชญากรรมที่พร้อมเกิดขึ้นทุกวินาที นิภา นักหนังสือพิมพ์สาว ได้รับแจ้งหนังสือข่าวลับจากทางการว่า นักกฎหมายรุ่นใหม่จากปารีส ผู้สอนวิชากฎหมายบ้านเมืองสุดโต่ง อาจเสี่ยงเป็นภัยต่อบ้านเมือง ด้วยการเกี่ยวพันกับขบวนการคอมมิวนิสต์เพื่อโค่นล้มราชบัลลังก์สยาม

เพื่อสืบค้นหาความจริง นิภา พยายามติดตามความเคลื่อนไหวการเมืองของกลุ่มใต้ดินอย่างไม่ลดละ นั่นทำให้เธอพบเจอกับกลุ่มคนที่ประกาศเรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ ขบวนการของข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีเป้าหมายสูงสุด คือการมุ่งหวังการยึดอำนาจ จากกษัตริย์พระปกเกล้าฯ เพื่อเปลี่ยนระบอบการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ให้กลายเป็นระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy)

นิภาจึงเข้ามาพัวพันระหว่างภารกิจของคณะราษฎรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เธอจำเป็นต้องสวมหน้ากาก เพื่อใช้ชีวิตอยู่ระหว่างโลกสองโลก นั่นคือ โลกผู้โหยหาการเปลี่ยนแปลง และโลกผู้มีอำนาจ ในยามที่เธอต้องสืบข่าวลับให้แก่ฝ่ายคณะราษฎร นักเขียนสาวพบเจอกับเหตุการณ์มากมายที่เธอไม่คาดฝัน ทั้งการชิงไหวชิงพริบทางการเมือง ความหวาดกลัว มิตรภาพ การทรยศหักหลัง รวมไปถึงการตั้งคำถามต่อคุณค่า ความเป็นมนุษย์ในใจของเธอเอง

ตัวละคร

นิภา

นักหนังสือพิมพ์สาว ผู้ใช้ชีวิตเป็นนักเขียนเงาอยู่ในสำนักพิมพ์ ที่เสี่ยงปิดกิจการเพราะเศรษฐกิจตกต่ำอยู่รอมร่อ เธอเข้ามาพัวพันกับการปฏิวัติสามัญชนสยาม ผ่านการรู้จักกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ เธอเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ มีไหวพริบ และเชื่อมั่นในตนเอง เธอกล้าตัดสินใจสำคัญๆ อย่างละเอียดรอบคอบ จนไม่ว่าครั้งไหนที่เพื่อนร่วมงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องงานเขียน พวกเขาก็มักจะมาขอคำปรึกษา พร้อมร้องขอความช่วยเหลือจากนิภาอยู่เสมอๆ

นิภาเป็นคนที่อ่อนโยนอย่างลึกซึ้งต่อผู้คนรอบข้าง เธอไม่เชื่อว่าความรุนแรงนำมาซึ่งความยุติธรรม หรือสร้างความรักได้อย่างแท้จริง นิภามีน้องชายเพียงแค่คนเดียว เธอรักน้องชายของเธออย่างมาก ความฝันของเธอคือการเขียนนิยายตัวเองสักเล่มหนึ่ง

ม.ร.ว เสรี

ข้าราชการหนุ่มรุ่นใหม่ และนักเขียนสมัครเล่น ผู้แสวงหาความหมายของชีวิตท่ามกลางสังคม เขามักเปรยถึงความขัดแย้งในหมู่ข้าราชการให้นิภาฟังผ่านทางจดหมายอยู่บ่อยๆ เขาเบื่อการทำงานที่เต็มไปด้วยวุ่นวายยุ่งเหยิง เขาชอบคลุกคลีอยู่กับหมู่นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ และพวกนักเขียนนิยายชาวสยามมากกว่า เขาเชื่อว่า ความฝันคือเรื่องยิ่งใหญ่ต่อการใช้ชีวิต และนั่นทำให้เขากระตือรือร้นต่อการฟังเรื่องใหม่ๆ ในชีวิตอยู่ตลอดเวลา

สำหรับม.ร.ว. เสรี การใช้ชีวิตคือการพยายามค้นหาคำตอบของคำถามมากมายที่ไม่รู้จบ ทุกครั้งที่เขาพบเจอคนใหม่ๆ เขาจะแสดงออกถึงความเป็นสุภาพบุรษต่อหน้าอื่นๆ และนั่นอาจทำให้คนรู้อึดอัด หรือรู้สึกแย่ได้ในคราวเดียวกัน เพราะถึงแม้ว่าเขาดูเหมือนเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย แต่เขากลับไม่ค่อยใครไว้ใจใครเท่าไหร่นัก เขาเล่าว่า เขากลัวว่าคนที่เข้ามาจะช่วงชิงผลประโยชน์ไปจากเขา โดยที่เขาไม่รู้ตัว

อรุณ

นักเรียนกฎหมาย ผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์มนุษยนิยมอย่างแรงกล้า กล้าได้กล้าเสีย และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อรุณมีเพื่อนหลายคน และทุกๆ คนต่างเชื่อมั่น และเคารพความเป็นผู้นำของอรุณทุกคน เขาใช้เวลาว่างไปกับการเล่นกีฬา และการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญๆ เขาชื่นชอบการพูดคุย หรือถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง สมัยเขาเป็นเด็กเล็ก เขามีความฝันที่ไม่ค่อยได้บอกให้ใครคนอื่นฟัง (นอกจากพี่สาวเพียงคนเดียวของเขา) ว่าเขาใฝ่ฝันอยากอยู่ในสังคมสยามที่ดีกว่านี้ และนั่น ก็ได้เป็นพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคมสยามดีกว่าที่เป็นอยู่

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

นักกฎหมาย อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีความเป็นผู้นำ พูดจาน่าเชื่อถือ เคร่งขรึม และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่ออุดมการณ์ทางการเมืองของตน เขามีนิสัยจริงจังกับทุกเรื่อง (ซึ่งบางครั้งก็มักมากเกินไป) ในขณะเดียวกัน หลวงประดิษฐ์ฯ เขาเป็นคนที่สำรวมท่าทีของตนเองอยู่ตลอด ซึ่งนั่นทำให้เขาได้รับความเคารพจากคนรอบข้าง จนขนานนามฉายาว่า ‘อาจารย์’ ระหว่างที่ทำงานในสยาม เขารับหน้าที่เป็นทั้งผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย  ขณะที่ปรีดีเรียนกฎหมายอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในที่ปารีส

“หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎรแล้ว สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ”

หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)

ข้าราชการทหารบก อาจารย์ และหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่  หลวงพิบูลฯ มีนิสัยแตกต่างจากเพื่อนรุ่นเดียวกันอย่างชัดเจน เขาเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีภาวะผู้นำ และเป็นคนพูดน้อย เขามักมีความคิดที่หลักแหลมจนยากแก่การคาดเดาเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ จนเพื่อนๆ ขนานนามเขาว่า ‘กัปตัน’  น้อยครั้งที่เขาแสดงความเห็นจริงจัง แต่ถ้าหากเขาเริ่มพูดแล้ว เขามักอาศัยทักษะการพูดอันเป็นเลิศ โน้มน้าวผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามอย่างง่ายดาย สิ่งที่หลวงพิบูลฯ เกลียดมากที่สุดคือการดูถูกเหยียดหยามเกียรติยศ และศักดิ์ศรีในอาชีพทหาร นอกจากนี้เขาชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ กับหลวงประดิษฐ์ฯ มากที่สุด สำหรับเขาแล้ว หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่เขาไว้วางใจ

“ทุกวันคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่มะรืนนี้ หรือวันไหน”

พระปกเกล้าฯ

ผู้นำคณะรัฐบาลแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ทรงปกครองประเทศสยามในช่วงระยะเวลาที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก ทั้งยังแบกรับความเครียด ความกดดันในหลายทิศทาง พระองค์มักตัดพ้อว่า ทำให้ข้าราชการส่วนมากลำบาก เพราะการบริหารงานของตน พระองค์ยังแสดงออกต่อพื้นที่ทางสาธารณะบ่อยครั้งว่าพระองค์ทราบดีว่าราษฎรและข้าราชการไม่พึงพอใจต่อการบริหารงานของพระองค์ และพระองค์สร้างความรู้สึกศรัทธาต่อตัวพระองค์ในฐานะประมุขของประเทศได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ในเวลาส่วนพระองค์ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์โดยมักนำกล้องไปถ่ายรูประหว่างตรวจราชการอยู่เสมอ พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่สะสมไว้ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นการโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ไดัเป็นอย่างดี

“ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องการเงินเลย ก็ได้แต่ฟังเขาไป เห็นอย่างไรดีก็ตัดสินใจไปตามนั้น ไม่เคยประสพการยากลำบากเช่นนี้เลย เพราะฉะนั้นถึงพลาดพลั้งไปบ้าง ก็หวังว่าข้าราชการและประชาชนสยามจะเห็นใจ”

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ มีนามลำลองว่า ‘ทูลกระหม่อมชาย’ หรือ ‘ทูลกระหม่อมบริพัตร’ พระองค์ทรงเป็นที่นับหน้าถือตาของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่ในหลวงประชาธิปกครองราชย์ โดยพระองค์ทรงปรีชาสามารถด้านการทหาร และการบริหารจัดการประเทศ จนเป็นที่ไว้วางใจของในหลวงประชาธิปก

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ เป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่ทางคณะราษฎร ต้องควบคุมองค์ไว้เป็นองค์ประกันสำคัญสูงสุด เนื่องด้วยทรงเป็นผู้รักษาพระนคร อีกทั้งยังทรงควบคุมหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งทหาร และตำรวจ

“ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ”

ตัวละคร

นิภา

นักหนังสือพิมพ์สาว ผู้ใช้ชีวิตเป็นนักเขียนเงาอยู่ในสำนักพิมพ์ ที่เสี่ยงปิดกิจการเพราะเศรษฐกิจตกต่ำอยู่รอมร่อ เธอเข้ามาพัวพันกับการปฏิวัติสามัญชนสยาม ผ่านการรู้จักกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ เธอเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ มีไหวพริบ และเชื่อมั่นในตนเอง เธอกล้าตัดสินใจสำคัญๆ อย่างละเอียดรอบคอบ จนไม่ว่าครั้งไหนที่เพื่อนร่วมงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องงานเขียน พวกเขาก็มักจะมาขอคำปรึกษา พร้อมร้องขอความช่วยเหลือจากนิภาอยู่เสมอๆ

นิภาเป็นคนที่อ่อนโยนอย่างลึกซึ้งต่อผู้คนรอบข้าง เธอไม่เชื่อว่าความรุนแรงนำมาซึ่งความยุติธรรม หรือสร้างความรักได้อย่างแท้จริง นิภามีน้องชายเพียงแค่คนเดียว เธอรักน้องชายของเธออย่างมาก ความฝันของเธอคือการเขียนนิยายตัวเองสักเล่มหนึ่ง

ม.ร.ว เสรี

ข้าราชการหนุ่มรุ่นใหม่ และนักเขียนสมัครเล่น ผู้แสวงหาความหมายของชีวิตท่ามกลางสังคม เขามักเปรยถึงความขัดแย้งในหมู่ข้าราชการให้นิภาฟังผ่านทางจดหมายอยู่บ่อยๆ เขาเบื่อการทำงานที่เต็มไปด้วยวุ่นวายยุ่งเหยิง เขาชอบคลุกคลีอยู่กับหมู่นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ และพวกนักเขียนนิยายชาวสยามมากกว่า เขาเชื่อว่า ความฝันคือเรื่องยิ่งใหญ่ต่อการใช้ชีวิต และนั่นทำให้เขากระตือรือร้นต่อการฟังเรื่องใหม่ๆ ในชีวิตอยู่ตลอดเวลา

สำหรับม.ร.ว. เสรี การใช้ชีวิตคือการพยายามค้นหาคำตอบของคำถามมากมายที่ไม่รู้จบ ทุกครั้งที่เขาพบเจอคนใหม่ๆ เขาจะแสดงออกถึงความเป็นสุภาพบุรษต่อหน้าอื่นๆ และนั่นอาจทำให้คนรู้อึดอัด หรือรู้สึกแย่ได้ในคราวเดียวกัน เพราะถึงแม้ว่าเขาดูเหมือนเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย แต่เขากลับไม่ค่อยใครไว้ใจใครเท่าไหร่นัก เขาเล่าว่า เขากลัวว่าคนที่เข้ามาจะช่วงชิงผลประโยชน์ไปจากเขา โดยที่เขาไม่รู้ตัว

อรุณ

นักเรียนกฎหมาย ผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์มนุษยนิยมอย่างแรงกล้า กล้าได้กล้าเสีย และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อรุณมีเพื่อนหลายคน และทุกๆ คนต่างเชื่อมั่น และเคารพความเป็นผู้นำของอรุณทุกคน เขาใช้เวลาว่างไปกับการเล่นกีฬา และการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญๆ เขาชื่นชอบการพูดคุย หรือถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง สมัยเขาเป็นเด็กเล็ก เขามีความฝันที่ไม่ค่อยได้บอกให้ใครคนอื่นฟัง (นอกจากพี่สาวเพียงคนเดียวของเขา) ว่าเขาใฝ่ฝันอยากอยู่ในสังคมสยามที่ดีกว่านี้ และนั่น ก็ได้เป็นพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคมสยามดีกว่าที่เป็นอยู่

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)

นักกฎหมาย อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีความเป็นผู้นำ พูดจาน่าเชื่อถือ เคร่งขรึม และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่ออุดมการณ์ทางการเมืองของตน เขามีนิสัยจริงจังกับทุกเรื่อง (ซึ่งบางครั้งก็มักมากเกินไป) ในขณะเดียวกัน หลวงประดิษฐ์ฯ เขาเป็นคนที่สำรวมท่าทีของตนเองอยู่ตลอด ซึ่งนั่นทำให้เขาได้รับความเคารพจากคนรอบข้าง จนขนานนามฉายาว่า ‘อาจารย์’ ระหว่างที่ทำงานในสยาม เขารับหน้าที่เป็นทั้งผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย  ขณะที่ปรีดีเรียนกฎหมายอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในที่ปารีส

“หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎรแล้ว สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ”

หลวงพิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)

ข้าราชการทหารบก อาจารย์ และหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่  หลวงพิบูลฯ มีนิสัยแตกต่างจากเพื่อนรุ่นเดียวกันอย่างชัดเจน เขาเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีภาวะผู้นำ และเป็นคนพูดน้อย เขามักมีความคิดที่หลักแหลมจนยากแก่การคาดเดาเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ จนเพื่อนๆ ขนานนามเขาว่า ‘กัปตัน’  น้อยครั้งที่เขาแสดงความเห็นจริงจัง แต่ถ้าหากเขาเริ่มพูดแล้ว เขามักอาศัยทักษะการพูดอันเป็นเลิศ โน้มน้าวผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามอย่างง่ายดาย สิ่งที่หลวงพิบูลฯ เกลียดมากที่สุดคือการดูถูกเหยียดหยามเกียรติยศ และศักดิ์ศรีในอาชีพทหาร นอกจากนี้เขาชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ กับหลวงประดิษฐ์ฯ มากที่สุด สำหรับเขาแล้ว หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่เขาไว้วางใจ

“ทุกวันคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่มะรืนนี้ หรือวันไหน”

พระปกเกล้าฯ

ผู้นำคณะรัฐบาลแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ทรงปกครองประเทศสยามในช่วงระยะเวลาที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก ทั้งยังแบกรับความเครียด ความกดดันในหลายทิศทาง พระองค์มักตัดพ้อว่า ทำให้ข้าราชการส่วนมากลำบาก เพราะการบริหารงานของตน พระองค์ยังแสดงออกต่อพื้นที่ทางสาธารณะบ่อยครั้งว่าพระองค์ทราบดีว่าราษฎรและข้าราชการไม่พึงพอใจต่อการบริหารงานของพระองค์ และพระองค์สร้างความรู้สึกศรัทธาต่อตัวพระองค์ในฐานะประมุขของประเทศได้ไม่ดีเท่าที่ควร

ในเวลาส่วนพระองค์ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์โดยมักนำกล้องไปถ่ายรูประหว่างตรวจราชการอยู่เสมอ พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่สะสมไว้ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นการโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ไดัเป็นอย่างดี

“ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องการเงินเลย ก็ได้แต่ฟังเขาไป เห็นอย่างไรดีก็ตัดสินใจไปตามนั้น ไม่เคยประสพการยากลำบากเช่นนี้เลย เพราะฉะนั้นถึงพลาดพลั้งไปบ้าง ก็หวังว่าข้าราชการและประชาชนสยามจะเห็นใจ”

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ

เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ มีนามลำลองว่า ‘ทูลกระหม่อมชาย’ หรือ ‘ทูลกระหม่อมบริพัตร’ พระองค์ทรงเป็นที่นับหน้าถือตาของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่ในหลวงประชาธิปกครองราชย์ โดยพระองค์ทรงปรีชาสามารถด้านการทหาร และการบริหารจัดการประเทศ จนเป็นที่ไว้วางใจของในหลวงประชาธิปก

ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ เป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่ทางคณะราษฎร ต้องควบคุมองค์ไว้เป็นองค์ประกันสำคัญสูงสุด เนื่องด้วยทรงเป็นผู้รักษาพระนคร อีกทั้งยังทรงควบคุมหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งทหาร และตำรวจ

“ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ”

การระดมทุนของโปรเจกต์

การระดมทุนเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนกระบวนการสร้างนิยายภาพเล่มนี้ให้เกิดขึ้น เป็นก้าวเล็กๆ ของการสร้างการรับรู้ถึงเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม
ในวงกว้าง และบันทึกประวัติศาสตร์ช่วงสำคัญของประเทศไทยผ่าน
มุมมองใหม่

ส่วนหนึ่งของรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจากการระดมทุนจะมอบให้กองทุนช่วยเหลืองานเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยและกองทุนส่งเสริมผลงานสร้างสรรค์เช่นโปรเจกต์นี้ในอนาคต
หมายเหตุ หนังสือจะพร้อมส่งให้ผู้สนับสนุนในช่วงต้นปี 2566

รายละเอียดหนังสือ

จำนวนบท 10 บทโดยประมาณ
จำนวนหน้า 400 หน้าโดยประมาณ
ภาพขาว - ดำ พิมพ์บนกระดาษเนื้อดีเข้าเล่มอย่างปราณีต
*ปกหนังสือเป็นเพียงภาพตัวอย่างเท่านั้น

แผนของโปรเจกต์

2563
เริ่มโปรเจกต์
2564
พ.ค. 2563 - พ.ค. 2565 วิจัย พัฒนาบท
2565
พ.ค. 2563 - พ.ค. 2565 วิจัย พัฒนาบท
2565
มิ.ย. - ส.ค. 2565 ระดมทุน
2565
ก.ย. - ธ.ค. 2565 งานบท งานวาด
2566
ต้นปี 2566 ผลิตและส่งเล่มให้กับผู้สนับสนุน
พ.ค. 2563
2564
2564
พ.ค. 2563 - พ.ค. 2565 วิจัย พัฒนาบท
พ.ค. 2565
มิ.ย. 2565
ก.ค. 2565
ส.ค. 2565
ก.ย. 2565
ต.ค. 2565
พ.ย. 2565
ธ.ค. 2565
ต้นปี 2566

แพคเกจ Pre-order

Pack A

350.-

2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 1
*ค่าจัดส่ง 40 บาท รวม 390 บาท

Pack B

700.-

2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 2
*ค่าจัดส่ง 40 บาท รวม 740 บาท

Pack C

1,050.-

2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 3
*ค่าจัดส่ง 40 บาท รวม 1,090 บาท

Pack D

10,000.-

2475 Siamese Revolution
Graphic Novel (ฉบับพิเศษ) X 1
พร้อมใส่ชื่อคุณ
ในรายนามผู้สนับสนุนในเล่ม
*ค่าจัดส่ง 40 บาท รวม 10,040 บาท
พรีออเดอร์หนังสือ

แพคเกจบริจาค
ให้ห้องสมุดและบุคคลากรทางการศึกษา

Pack E

350.-

บริจาค
2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 1

Pack F

700.-

บริจาค
2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 2

Pack G

1,050.-

บริจาค
2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 3

Pack H

3,500.-

บริจาค
2475 Siamese Revolution
Graphic Novel X 10
บริจาคหนังสือ

ปลดล็อค Gift

ปลดล็อค 1

แจกสติกเกอร์ นิภา
ให้กับทุกเล่มเมื่อยอดระดมทุนถึง500 เล่ม

ปลดล็อค 2

แจกสติกเกอร์ ตัวละครหลัก
แบบสุ่มหนึ่งตัวให้กับทุกเล่มเมื่อยอด
ระดมทุนถึง 1,500 เล่ม

ปลดล็อค 3

แจกโปสการ์ด คณะราษฎรอินปารีส
ให้กับทุกเล่มเมื่อยอดระดมทุนถึง 3,000 เล่ม

ลงทะเบียนขอรับหนังสือสําหรับบุคลากรทางการศึกษา

หากคุณเป็นบุคลากรทางการศึกษา บรรณารักษ์ห้องสมุด หรืออยู่ในตําแหน่งที่จะได้ใช้หนังสือเล่มนี้เพื่อสาธารณะประโยชน์
คุณสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับหนังสือได้

*หากผู้ลงทะเบียนมากกว่าจํานวนที่สามารถแจกได้ ทีมงานขอสงวนสิทธิ์ในการคัดเลือกผู้ได้รับหนังสือ
ลงทะเบียนขอรับหนังสือ

ทีมงาน

ธนิสร์ วีระศักดิ์วงศ์ (สะอาด)

ภาพ และเนื้อเรื่อง
สะอาดเป็นนักเขียนการ์ตูนอาชีพมากว่า 10 ปี นำเสนอเนื้อหาเชิง ประเด็นสังคมให้ร่วมสมัย ทั้งเรื่องการศึกษา สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษชน และการเมือง

พชรกฤษณ์ โตอิ้ม

เนื้อเรื่อง
พชรกฤษณ์เป็นนักวารสารศาสตร์ และนักวิจัยอิสระ ที่ผลักดันประเด็นทางสังคมผ่านงานเขียน มีประสบการณ์ทำงานร่วมกับ สำนักพิมพ์
ซอย l s-o-i และ Way magazine

SYSI

ประสานงาน
สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคมเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนเยาวชนในการเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

โปรเจกต์นี้ถูกพูดถึงบน