นักหนังสือพิมพ์สาว ผู้ใช้ชีวิตเป็นนักเขียนเงาอยู่ในสำนักพิมพ์ ที่เสี่ยงปิดกิจการเพราะเศรษฐกิจตกต่ำอยู่รอมร่อ เธอเข้ามาพัวพันกับการปฏิวัติสามัญชนสยาม ผ่านการรู้จักกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ เธอเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ มีไหวพริบ และเชื่อมั่นในตนเอง เธอกล้าตัดสินใจสำคัญๆ อย่างละเอียดรอบคอบ จนไม่ว่าครั้งไหนที่เพื่อนร่วมงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องงานเขียน พวกเขาก็มักจะมาขอคำปรึกษา พร้อมร้องขอความช่วยเหลือจากนิภาอยู่เสมอๆ
นิภาเป็นคนที่อ่อนโยนอย่างลึกซึ้งต่อผู้คนรอบข้าง เธอไม่เชื่อว่าความรุนแรงนำมาซึ่งความยุติธรรม หรือสร้างความรักได้อย่างแท้จริง นิภามีน้องชายเพียงแค่คนเดียว เธอรักน้องชายของเธออย่างมาก ความฝันของเธอคือการเขียนนิยายตัวเองสักเล่มหนึ่ง
ข้าราชการหนุ่มรุ่นใหม่ และนักเขียนสมัครเล่น ผู้แสวงหาความหมายของชีวิตท่ามกลางสังคม เขามักเปรยถึงความขัดแย้งในหมู่ข้าราชการให้นิภาฟังผ่านทางจดหมายอยู่บ่อยๆ เขาเบื่อการทำงานที่เต็มไปด้วยวุ่นวายยุ่งเหยิง เขาชอบคลุกคลีอยู่กับหมู่นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ และพวกนักเขียนนิยายชาวสยามมากกว่า เขาเชื่อว่า ความฝันคือเรื่องยิ่งใหญ่ต่อการใช้ชีวิต และนั่นทำให้เขากระตือรือร้นต่อการฟังเรื่องใหม่ๆ ในชีวิตอยู่ตลอดเวลา
สำหรับม.ร.ว. เสรี การใช้ชีวิตคือการพยายามค้นหาคำตอบของคำถามมากมายที่ไม่รู้จบ ทุกครั้งที่เขาพบเจอคนใหม่ๆ เขาจะแสดงออกถึงความเป็นสุภาพบุรษต่อหน้าอื่นๆ และนั่นอาจทำให้คนรู้อึดอัด หรือรู้สึกแย่ได้ในคราวเดียวกัน เพราะถึงแม้ว่าเขาดูเหมือนเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย แต่เขากลับไม่ค่อยใครไว้ใจใครเท่าไหร่นัก เขาเล่าว่า เขากลัวว่าคนที่เข้ามาจะช่วงชิงผลประโยชน์ไปจากเขา โดยที่เขาไม่รู้ตัว
นักเรียนกฎหมาย ผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์มนุษยนิยมอย่างแรงกล้า กล้าได้กล้าเสีย และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อรุณมีเพื่อนหลายคน และทุกๆ คนต่างเชื่อมั่น และเคารพความเป็นผู้นำของอรุณทุกคน เขาใช้เวลาว่างไปกับการเล่นกีฬา และการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญๆ เขาชื่นชอบการพูดคุย หรือถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง สมัยเขาเป็นเด็กเล็ก เขามีความฝันที่ไม่ค่อยได้บอกให้ใครคนอื่นฟัง (นอกจากพี่สาวเพียงคนเดียวของเขา) ว่าเขาใฝ่ฝันอยากอยู่ในสังคมสยามที่ดีกว่านี้ และนั่น ก็ได้เป็นพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคมสยามดีกว่าที่เป็นอยู่
นักกฎหมาย อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีความเป็นผู้นำ พูดจาน่าเชื่อถือ เคร่งขรึม และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่ออุดมการณ์ทางการเมืองของตน เขามีนิสัยจริงจังกับทุกเรื่อง (ซึ่งบางครั้งก็มักมากเกินไป) ในขณะเดียวกัน หลวงประดิษฐ์ฯ เขาเป็นคนที่สำรวมท่าทีของตนเองอยู่ตลอด ซึ่งนั่นทำให้เขาได้รับความเคารพจากคนรอบข้าง จนขนานนามฉายาว่า ‘อาจารย์’ ระหว่างที่ทำงานในสยาม เขารับหน้าที่เป็นทั้งผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย ขณะที่ปรีดีเรียนกฎหมายอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในที่ปารีส
“หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎรแล้ว สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ”
ข้าราชการทหารบก อาจารย์ และหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่ หลวงพิบูลฯ มีนิสัยแตกต่างจากเพื่อนรุ่นเดียวกันอย่างชัดเจน เขาเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีภาวะผู้นำ และเป็นคนพูดน้อย เขามักมีความคิดที่หลักแหลมจนยากแก่การคาดเดาเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ จนเพื่อนๆ ขนานนามเขาว่า ‘กัปตัน’ น้อยครั้งที่เขาแสดงความเห็นจริงจัง แต่ถ้าหากเขาเริ่มพูดแล้ว เขามักอาศัยทักษะการพูดอันเป็นเลิศ โน้มน้าวผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามอย่างง่ายดาย สิ่งที่หลวงพิบูลฯ เกลียดมากที่สุดคือการดูถูกเหยียดหยามเกียรติยศ และศักดิ์ศรีในอาชีพทหาร นอกจากนี้เขาชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ กับหลวงประดิษฐ์ฯ มากที่สุด สำหรับเขาแล้ว หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่เขาไว้วางใจ
“ทุกวันคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่มะรืนนี้ หรือวันไหน”
ผู้นำคณะรัฐบาลแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ทรงปกครองประเทศสยามในช่วงระยะเวลาที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก ทั้งยังแบกรับความเครียด ความกดดันในหลายทิศทาง พระองค์มักตัดพ้อว่า ทำให้ข้าราชการส่วนมากลำบาก เพราะการบริหารงานของตน พระองค์ยังแสดงออกต่อพื้นที่ทางสาธารณะบ่อยครั้งว่าพระองค์ทราบดีว่าราษฎรและข้าราชการไม่พึงพอใจต่อการบริหารงานของพระองค์ และพระองค์สร้างความรู้สึกศรัทธาต่อตัวพระองค์ในฐานะประมุขของประเทศได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ในเวลาส่วนพระองค์ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์โดยมักนำกล้องไปถ่ายรูประหว่างตรวจราชการอยู่เสมอ พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่สะสมไว้ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นการโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ไดัเป็นอย่างดี
“ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องการเงินเลย ก็ได้แต่ฟังเขาไป เห็นอย่างไรดีก็ตัดสินใจไปตามนั้น ไม่เคยประสพการยากลำบากเช่นนี้เลย เพราะฉะนั้นถึงพลาดพลั้งไปบ้าง ก็หวังว่าข้าราชการและประชาชนสยามจะเห็นใจ”
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ มีนามลำลองว่า ‘ทูลกระหม่อมชาย’ หรือ ‘ทูลกระหม่อมบริพัตร’ พระองค์ทรงเป็นที่นับหน้าถือตาของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่ในหลวงประชาธิปกครองราชย์ โดยพระองค์ทรงปรีชาสามารถด้านการทหาร และการบริหารจัดการประเทศ จนเป็นที่ไว้วางใจของในหลวงประชาธิปก
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ เป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่ทางคณะราษฎร ต้องควบคุมองค์ไว้เป็นองค์ประกันสำคัญสูงสุด เนื่องด้วยทรงเป็นผู้รักษาพระนคร อีกทั้งยังทรงควบคุมหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งทหาร และตำรวจ
“ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ”
นักหนังสือพิมพ์สาว ผู้ใช้ชีวิตเป็นนักเขียนเงาอยู่ในสำนักพิมพ์ ที่เสี่ยงปิดกิจการเพราะเศรษฐกิจตกต่ำอยู่รอมร่อ เธอเข้ามาพัวพันกับการปฏิวัติสามัญชนสยาม ผ่านการรู้จักกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘คณะราษฎร’ เธอเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ มีไหวพริบ และเชื่อมั่นในตนเอง เธอกล้าตัดสินใจสำคัญๆ อย่างละเอียดรอบคอบ จนไม่ว่าครั้งไหนที่เพื่อนร่วมงานไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องงานเขียน พวกเขาก็มักจะมาขอคำปรึกษา พร้อมร้องขอความช่วยเหลือจากนิภาอยู่เสมอๆ
นิภาเป็นคนที่อ่อนโยนอย่างลึกซึ้งต่อผู้คนรอบข้าง เธอไม่เชื่อว่าความรุนแรงนำมาซึ่งความยุติธรรม หรือสร้างความรักได้อย่างแท้จริง นิภามีน้องชายเพียงแค่คนเดียว เธอรักน้องชายของเธออย่างมาก ความฝันของเธอคือการเขียนนิยายตัวเองสักเล่มหนึ่ง
ข้าราชการหนุ่มรุ่นใหม่ และนักเขียนสมัครเล่น ผู้แสวงหาความหมายของชีวิตท่ามกลางสังคม เขามักเปรยถึงความขัดแย้งในหมู่ข้าราชการให้นิภาฟังผ่านทางจดหมายอยู่บ่อยๆ เขาเบื่อการทำงานที่เต็มไปด้วยวุ่นวายยุ่งเหยิง เขาชอบคลุกคลีอยู่กับหมู่นักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ และพวกนักเขียนนิยายชาวสยามมากกว่า เขาเชื่อว่า ความฝันคือเรื่องยิ่งใหญ่ต่อการใช้ชีวิต และนั่นทำให้เขากระตือรือร้นต่อการฟังเรื่องใหม่ๆ ในชีวิตอยู่ตลอดเวลา
สำหรับม.ร.ว. เสรี การใช้ชีวิตคือการพยายามค้นหาคำตอบของคำถามมากมายที่ไม่รู้จบ ทุกครั้งที่เขาพบเจอคนใหม่ๆ เขาจะแสดงออกถึงความเป็นสุภาพบุรษต่อหน้าอื่นๆ และนั่นอาจทำให้คนรู้อึดอัด หรือรู้สึกแย่ได้ในคราวเดียวกัน เพราะถึงแม้ว่าเขาดูเหมือนเข้ากับคนอื่นๆ ได้ง่าย แต่เขากลับไม่ค่อยใครไว้ใจใครเท่าไหร่นัก เขาเล่าว่า เขากลัวว่าคนที่เข้ามาจะช่วงชิงผลประโยชน์ไปจากเขา โดยที่เขาไม่รู้ตัว
นักเรียนกฎหมาย ผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์มนุษยนิยมอย่างแรงกล้า กล้าได้กล้าเสีย และมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา อรุณมีเพื่อนหลายคน และทุกๆ คนต่างเชื่อมั่น และเคารพความเป็นผู้นำของอรุณทุกคน เขาใช้เวลาว่างไปกับการเล่นกีฬา และการอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญๆ เขาชื่นชอบการพูดคุย หรือถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องสถานการณ์บ้านเมือง สมัยเขาเป็นเด็กเล็ก เขามีความฝันที่ไม่ค่อยได้บอกให้ใครคนอื่นฟัง (นอกจากพี่สาวเพียงคนเดียวของเขา) ว่าเขาใฝ่ฝันอยากอยู่ในสังคมสยามที่ดีกว่านี้ และนั่น ก็ได้เป็นพลังขับเคลื่อนอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้เขาอยากเปลี่ยนแปลงสังคมสยามดีกว่าที่เป็นอยู่
นักกฎหมาย อาจารย์ และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง หลวงประดิษฐ์มนูธรรมมีความเป็นผู้นำ พูดจาน่าเชื่อถือ เคร่งขรึม และมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าต่ออุดมการณ์ทางการเมืองของตน เขามีนิสัยจริงจังกับทุกเรื่อง (ซึ่งบางครั้งก็มักมากเกินไป) ในขณะเดียวกัน หลวงประดิษฐ์ฯ เขาเป็นคนที่สำรวมท่าทีของตนเองอยู่ตลอด ซึ่งนั่นทำให้เขาได้รับความเคารพจากคนรอบข้าง จนขนานนามฉายาว่า ‘อาจารย์’ ระหว่างที่ทำงานในสยาม เขารับหน้าที่เป็นทั้งผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมาย และอาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายปกครอง ณ โรงเรียนกฎหมาย ขณะที่ปรีดีเรียนกฎหมายอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งคณะราษฎรในที่ปารีส
“หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎรแล้ว สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐ”
ข้าราชการทหารบก อาจารย์ และหัวหน้ากองตรวจอากาศสำหรับใช้ทดลอง กรมจเรทหารปืนใหญ่ หลวงพิบูลฯ มีนิสัยแตกต่างจากเพื่อนรุ่นเดียวกันอย่างชัดเจน เขาเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีภาวะผู้นำ และเป็นคนพูดน้อย เขามักมีความคิดที่หลักแหลมจนยากแก่การคาดเดาเขากำลังคิดอะไรอยู่กันแน่ จนเพื่อนๆ ขนานนามเขาว่า ‘กัปตัน’ น้อยครั้งที่เขาแสดงความเห็นจริงจัง แต่ถ้าหากเขาเริ่มพูดแล้ว เขามักอาศัยทักษะการพูดอันเป็นเลิศ โน้มน้าวผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามอย่างง่ายดาย สิ่งที่หลวงพิบูลฯ เกลียดมากที่สุดคือการดูถูกเหยียดหยามเกียรติยศ และศักดิ์ศรีในอาชีพทหาร นอกจากนี้เขาชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ กับหลวงประดิษฐ์ฯ มากที่สุด สำหรับเขาแล้ว หลวงประดิษฐ์ฯ เป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่เขาไว้วางใจ
“ทุกวันคือการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่มะรืนนี้ หรือวันไหน”
ผู้นำคณะรัฐบาลแห่งระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระองค์ทรงปกครองประเทศสยามในช่วงระยะเวลาที่เต็มไปด้วยความยากลำบาก ทั้งยังแบกรับความเครียด ความกดดันในหลายทิศทาง พระองค์มักตัดพ้อว่า ทำให้ข้าราชการส่วนมากลำบาก เพราะการบริหารงานของตน พระองค์ยังแสดงออกต่อพื้นที่ทางสาธารณะบ่อยครั้งว่าพระองค์ทราบดีว่าราษฎรและข้าราชการไม่พึงพอใจต่อการบริหารงานของพระองค์ และพระองค์สร้างความรู้สึกศรัทธาต่อตัวพระองค์ในฐานะประมุขของประเทศได้ไม่ดีเท่าที่ควร
ในเวลาส่วนพระองค์ พระองค์โปรดในการถ่ายภาพนิ่งและถ่ายภาพยนตร์โดยมักนำกล้องไปถ่ายรูประหว่างตรวจราชการอยู่เสมอ พระองค์ทรงมีกล้องถ่ายภาพและภาพยนตร์จำนวนมากที่สะสมไว้ซึ่งนั่นสะท้อนให้เห็นการโปรดการถ่ายภาพและภาพยนตร์ไดัเป็นอย่างดี
“ข้าพเจ้าไม่รู้เรื่องการเงินเลย ก็ได้แต่ฟังเขาไป เห็นอย่างไรดีก็ตัดสินใจไปตามนั้น ไม่เคยประสพการยากลำบากเช่นนี้เลย เพราะฉะนั้นถึงพลาดพลั้งไปบ้าง ก็หวังว่าข้าราชการและประชาชนสยามจะเห็นใจ”
เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ มีนามลำลองว่า ‘ทูลกระหม่อมชาย’ หรือ ‘ทูลกระหม่อมบริพัตร’ พระองค์ทรงเป็นที่นับหน้าถือตาของรัฐบาลในช่วงระยะเวลาที่ในหลวงประชาธิปกครองราชย์ โดยพระองค์ทรงปรีชาสามารถด้านการทหาร และการบริหารจัดการประเทศ จนเป็นที่ไว้วางใจของในหลวงประชาธิปก
ในการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ฯ เป็นเจ้านายพระองค์สำคัญที่ทางคณะราษฎร ต้องควบคุมองค์ไว้เป็นองค์ประกันสำคัญสูงสุด เนื่องด้วยทรงเป็นผู้รักษาพระนคร อีกทั้งยังทรงควบคุมหน่วยงานความมั่นคงต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งทหาร และตำรวจ
“ถ้าพ่อเลือกได้ พ่อจะเรียนดนตรีและภาษา และจะทำงานด้านดนตรีอย่างเดียว แต่พ่อเลือกไม่ได้ เพราะพ่อบังเกิดมามียศตำแหน่ง ต้องทำงานให้ประเทศชาติ”